ทีมนิสิตสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คว้ารางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 และ รางวัลชมเชย ในการแข่งขัน 5MSPP 2023


วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566

    โครงการ “IEEE PES 5-Minute Student Project Pitch competition (5MSPP 2023)” ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดย สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) (IEEE PES – Thailand) เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาทักษะการสื่อสารความคิดด้วยคำพูดและสื่อการนำเสนออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่ชัดเจน กระชับและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากทักษะการสื่อสารเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับนิสิต นักศึกษาและวิศวกรในศตวรรษที่ 21 นี้
    การแข่งขันได้เริ่มรับสมัครตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2566 ซึ่งมีทีมเข้าร่วมแข่งขันกว่า 100 ทีม โดยได้มีการคัดเลือกรอบแรกเหลือเพียง 20 ทีม และคัดเลือกในรอบที่สองเหลือเพียง 5 ทีมสำหรับการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 12A อาคารวัฒนวิภาส อาคารบี การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ เพื่อชิงเงินรางวัลแข่งขันรวมกว่า 55,000 บาท

สำหรับในการแข่งขัน ปี พ.ศ. 2566 นี้ 5 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่

  • ทีม Transparent Photovoltaic จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ทีม Approve จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทีม KD01 จาก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ทีม EE-TU จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ทีม กลุ่มมิเตอร์วัดพลังงาน จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร


ซึ่งผลการตัดสินจากคณะกรรมการ ทีมชนะเลิศได้แก่ ทีม Transparent Photovoltaic, ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Approve (ม. นเรศวร) และ ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม EE-TU สำหรับในส่วนรางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม กลุ่มมิเตอร์วัดพลังงาน (ม.นเรศวร) และ ทีม KD01

รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Approve จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า


นายนันทิพัฒน์ จันพฤกษ์ และ นายกอบวริทธิ์ สิงหเดช


นำเสนอเรื่อง ” ระบบวิเคราะห์พลังงานจากโซลาร์เซลล์ติดตามดวงอาทิตย์ด้วยหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงโปรแกรม “ โดยมี ดร.จิรวดี ผลประเสริฐ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

คว้าเงินสด 15,000 บาทพร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร

รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม กลุ่มมิเตอร์วัดพลังงาน จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า


นายธนบดี ชัยกิจไทย และ นางสาววราพร สุขสำราญ


นำเสนอเรื่อง ” มิเตอร์วัดพลังงานที่ส่งข้อมูลแบบไร้สายผ่าน NB-IOT ไปยังระบบคลาวด์เซิฟเวอร์ “ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยดนัย ภาชนะพรรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

คว้าเงินสด 5,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร

Tags