NU-VISION LAB เปิดตัว ระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะแจ้งเตือนยานพาหนะในจุดอับสายตาสำหรับรถจักรยานยนต์

ทีมนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่อง การพัฒนาระบบอัจฉริยะแจ้งเตือนจุดอับสายตาสำหรับรถจักรยานยนต์(Smart Blind Spot Warning System for Motorcycle)

ทีมนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเรื่อง การพัฒนาระบบอัจฉริยะแจ้งเตือนจุดอับสายตาสำหรับรถจักรยานยนต์(Smart Blind Spot Warning System for Motorcycle)

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมขวัญ ริยะมงคล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมวิจัยระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะแจ้งเตือนยานพาหนะในจุดอับสายตาสำหรับติดตั้งใช้งานกับรถจักรยานยนต์ Smart Blind Spot Warning System for Motorcycle ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการนวัตกรรมรถจักรยานยนต์และถนนปลอดภัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญพล มีไชโย เป็นหัวหน้าแผนงาน และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศักดิ์ แตะกระโทก เป็นที่ปรึกษา ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปีก 2563 โดยได้พัฒนาอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นในพื้นที่อับสายตาของรถจักรยานยนต์ติดตั้งที่ส่วนท้ายและด้านข้างของรถจักรยานยนต์ พัฒนาอุปกรณ์แจ้งเตือนติดตั้งบริเวณกระจกมองข้างซ้ายขวา และพัฒนาแอบพลิเคชันที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งจากการทดลองและทดสอบระบบพบว่ามีความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 90

ระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะแจ้งเตือนยานพาหนะในจุดอับสายตาสำหรับรถจักรยานยนต์

     ซึ่งที่มาของโครงการมาจากข้อมูลรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยปี 2564 มีจำนวนมากถึง 21,452,050 คัน และพบว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ถึงร้อยละ 74.4 ซึ่งสูงที่สุดในประเภทของยานพาหนะบนถนน และเป็นการเกิดอุบัติเหตุจากการตัดหน้าระยะกระชั้นชิดถึงร้อยละ 9.12 ซึ่งเป็นรองแค่จากสาเหตุจากการขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัฒนาวดี พัฒนถาบุตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

     ระบบที่พัฒนาขึ้นดังกล่าวใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์หลายแบบ ร่วมกับการประมวลผลภาพด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence (AI) เพื่อตรวจจับและจำแนกชนิดของยานพาหนะที่เข้ามาในบริเวณจุดอับสายตา รวมทั้งประมาณระยะทางว่ายานพาหนะที่เข้ามานั้นห่างจากรถของผู้ขับขี่มากน้อยเท่าใด และใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หรือ Internet of Things (IoT) ในการสื่อสารกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน

อาจารย์รัฐภูมิ วรานุสาสน์
อาจารย์รัฐภูมิ วรานุสาสน์
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

     หน่วยวิจัยด้านเทคโนโลยีทัศนศาสตร์คอมพิวเตอร์และการโต้ตอบกับมนุษย์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร. 0 5596 4371-3